จำนวนทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิของประเทศไทย
URL: https://www.ndbc.noaa.gov/station_page.php?station=23461
ทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องตรวจวัดความดันน้ำและทุ่นลอยที่ผิวน้ำ ซึ่งอุปกรณ์ทั้งสองชนิดเป็นอุปกรณ์ที่ต้องมีการสื่อสารกันตลอดเวลา โดยเครื่องตรวจวัดความดันน้ำจะทำหน้าที่ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำและนำข้อมูลที่ได้ส่งผ่านไปยังทุ่นลอยในรูปของสัญญาณเสียงความถี่ต่ำ เมื่อคลื่นสึนามิเคลื่อนผ่านแท่นใต้สมุทร ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงความดันน้ำที่เครื่องวัดความดันน้ำ (Bottom Pressure Recorder : BPR) เครื่องจะแปลงสัญญาณเป็นสัญญาณเสียงความถี่ต่ำส่งผ่านน้ำทะเลมายังทุ่นที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ (Surface Buoy) สัญญาณดังกล่าวจะถูกแปลงสัญญาณดาวเทียมและถูกส่งต่อไปยังหน่วยงานบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Oceanic and Atmospheric Administration : NOAA) ข้อมูลจะถูกวิเคราะห์และนำเสนอในรูปกราฟความเปลี่ยนแปลงระดับน้ำเผยแพร่ในเว็บไซต์ National Data Buoy Centre (http://www.ndbc.noaa.gov/) โดยจะส่งข้อมูลทุก ๆ 15 นาที ในกรณีปกติ (Normal mode) และจะส่งข้อมูลทุก ๆ 15 วินาที และ 1 วินาทีตามลำดับ ในกรณี Event Mode (การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำผิดปกติ) และถ้าหาก NOAA ตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นคลื่นสึนามิก็จะแจ้งเตือนมายังศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และศูนย์เตือนภัยพิบัติต่างๆรอบมหาสมุทรอินเดีย ทั้งนี้เมื่อศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รับข้อมูลการเกิดสึนามิก็จะส่งสัญญาณแจ้งเตือนไปยังหอเตือนภัยที่ติดตั้งในพื้นที่เสี่ยงภัย 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน เพื่อให้ประชาชนอพยพไปยังพื้นที่ปลอดภัย
ข้อมูลเพิ่มเติม
ฟิลด์ | ค่า |
---|---|
นามสกุลของไฟล์ | Database,Image,HTML |
สัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูล | Open Data Common |
เงื่อนไขในการเข้าถึงข้อมูล | ไม่มี |
ปีข้อมูลที่เริ่มต้นจัดทำ | พ.ศ.2549 |
ปีข้อมูลล่าสุดที่เผยแพร่ | พ.ศ.2565 |
การจัดจำแนก | ผลิตภัณฑ์ |
หน่วยวัด | แห่ง |
หน่วยตัวคูณ | หน่วย |
วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด | 22 พฤศจิกายน 2565 |
วันที่กำหนดเผยแพร่ข้อมูล | 4 ธันวาคม 2549 |
สถิติทางการ | ไม่ใช่ |
สร้างในระบบเมื่อ | 11 พฤษภาคม 2566 |